อำเภอเทพสถิต

1624 จำนวนผู้เข้าชม  | 

 

อำเภอเทพสถิต

เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด และเป็นที่ตั้งของลานหินรูปทรงแม่ไก่และทุ่งดอกปทุมมาอันมีชื่อเสียงในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เทพสถิตนับเป็น 1 ใน 4 อำเภอของจังหวัดชัยภูมิที่มีทางรถไฟผ่าน

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเทพสถิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

• ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอภักดีชุมพลและอำเภอหนองบัวระเหว

• ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอซับใหญ่ และอำเภอบำเหน็จณรงค์

• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเทพารักษ์ (จังหวัดนครราชสีมา)

• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลำสนธิ (จังหวัดลพบุรี)และ อำเภอวิเชียรบุรี (จังหวัดเพชรบูรณ์)

ประวัติ 

• ยุคก่อนประวัติศาสตร์

จากหลักฐานการสืบค้นพบพื้นที่บริเวณอำเภอเทพสถิตปัจุบันมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ หรืออายุมากกว่า 3,500 ปี ที่แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีบ้านโป่งนก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ จากการขุดค้น พบเครื่องมือเหล็ก กำไลและห่วงสำริด • ยุคสมัยลพบุรีและอารยธรรมขอม (พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๘) มีการใช้เป็นเส้นทางระหว่างเมืองพระนคร ศรีเทพ และสุโขทัย โดยผ่านช่องทางบริเวณบ้านช่องสำราญปัจจุบัน ในการเดินทางติดต่อระหว่างกัน และเส้นทางนี้ยังใช้เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างภาคกลางและภาคอิสานมาจนถึงปัจจุบัน

• ยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ท้องที่อำเภอเทพสถิตเดิมเป็นพื้นที่ในเขตการปกครองของอำเภอจัตุรัส ต่อมาอำเภอบำเหน็จณรงค์แยกพื้นที่การปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิตจึงอยู่ในเขตปกครองของอำเภอบำเหน็จณรงค์ เดิมเป็นชุมชนเล็ก ๆ ในเขตอำเภอบำเหน็จณรงค์ มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่ในป่าลึกบนยอดเขาสูง คือ ชาวญัฮกุร คนทั่วไปนิยมเรียกว่า ชาวบนหรือชาวดง เป็นชนเผ่ามอญโบราณ มีภาษาพูด ประเพณีวัฒนธรรม และการแต่งกายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ต่อมาประชาชนจากแหล่งต่าง ๆ ได้เข้ามาอาศัยทำกินเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ จึงเปลี่ยนเป็นเทพสถิต ต่อมาได้มีการแยกออกเป็น กิ่งอำเภอเทพสถิต เมื่อปี พ.ศ. 2519 จนกระทั่งได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอเทพสถิต เมื่อปี พ.ศ. 2526

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค อำเภอเทพสถิตแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 92 หมู่บ้าน ได้แก่

1. วะตะแบก (Wa Tabaek) 22 หมู่บ้าน
2. ห้วยยายจิ๋ว   (Huai Yai Chio)   22 หมู่บ้าน
3. นายางกลัก   (Na Yang Klak)   17 หมู่บ้าน
4. บ้านไร่   (Ban Rai)   16 หมู่บ้าน
5. โป่งนก   (Pong Nok)   15 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเทพสถิตประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

เทศบาลตำบลเทพสถิต ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลวะตะแบก
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวะตะแบก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวะตะแบก (นอกเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยายจิ๋ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยยายจิ๋วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนายางกลัก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายางกลักทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งนก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งนกทั้งตำบล

 

สภาพภูมิศาสตร์

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มราบเชิงเขาและที่สูง

การศึกษา

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 4 แห่ง

  • โรงเรียนเทพสถิตวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ เขต 30
  • โรงเรียนนายางกลักพิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ เขต 30
  • โรงเรียนโป่งนกประชาสามัคคี สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
  • โรงเรียนตรีประชาพัฒนาศึกษาสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

เศรษฐกิจ

สะพานทางรถไฟสายแก่งคอย-บัวใหญ่ข้ามถนนสุรนารายณ์ในเขตอำเภอเทพสถิต ประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกร พืชส่วนใหญ่ที่สำคัญได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย พริก ฯลฯ มีธนาคาร 4 แห่ง คือ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารออมสิน, ธกส. สาขาเทพสถิต และ ธกส. สาขาย่อยนายางกลัก

การคมนาคม

มีถนนสายหลัก คือ ถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) เริ่มจากอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ไปยังจังหวัดนครราชสีมา และมีทางรถไฟสายหลักสายแก่งคอย-บัวใหญ่ตัดผ่านพื้นที่


สถานที่ท่องเที่ยว

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้